Thursday, April 30, 2009

คำสั่ง Batch File ที่ควรรู้จัก

ในหัวข้อนี้ผมจะเขียนถึงคำสั่ง Batch File ที่ไม่ง่ายและไม่ยากแม้มือใหม่ก็สามารถทำได้
ผมจะคัดเอาคำสั่งที่ใช้งานกันบ่อย ๆ และง่าย ๆ แต่ว่าได้ผล เมื่อผมอธิบายหมดแล้วผมจะ
ทำ วีดีโอ ซัก 1 ตัวอย่างเพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้น มาเริ่มกันเลยนะครับ

ในการเขียน Batch File ทุกครั้ง เราจะต้องเขียนใน Notepad (สำหรับผมว่าง่ายดี)
เมื่อเราเขียนคำสั่งตามที่เราต้องการหมดแล้ว ก็ทำการ save นามสกุลเป็น .bat

คำสั่งแรก @Echo
เป็นคำสั่งที่แสดงผล โดย จะ มี on กับ off ตาม on ก็คือให้แสดงหน้าต่ง CMD ส่วน off ก็ตรงกันข้าม
การที่เราจะเขียนคำสั่งใดก็ตามเราต้องเริ่มคำสั่งนี้ก่อนเสมอ เพื่อความชัวหรือป่าว
ตัวอย่างในการเขียน
@Echo on "ให้แสดงหน้าจอ CMD"
Echo THAILAND "ให้แสดงคำว่า THAILAND"
Pause "ให้หยุดการทำงานก่อน ก่อนที่จะทำงานคำสั่งต่อไปเราต้องกด Enter"

คำสั่ง Call
เป็นคำสั่งที่เรียก Batch file หรือ File exe ก็ได้ เพื่อให้ขึ้นมาทำงาน
ตัวอย่างในการเขียน
call c:\virus.bat "จะเป็นการเรียน Virus.bat" ขึ้นมาทำงาน

คำสั่ง Attrib
เป็นคำสั่งที่เป็นการซ่อนคุณสมบัติของไฟล์ให้เป็น Hidden ก็เป็นส่วนหนึ่งไวรัสซ่อนตัวไว้
ส่วนมากถ้าเราจะซ่อนไฟล์ก็จะไปที่ Tool> Folder Options> View> Show Or Not
ตัวอย่างในการเขียน
Attrib +r +h C:\Virus.txt "ให้ไฟล์ Virus.txt มีคุณสมบัติเป็น Hidden"

คำสั่ง Del
เป็นคำสั่งที่สั่งให้มีการลบไฟล์ที่เราต้องการ
ตัวอย่างในการเขียน
Del c:\Virus.txt "ให้ทำการลบ File Virus.txt ที่ไดร์ C:"

คำสั่ง Start
เป็นคำสั่งที่เรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงานตามที่เราต้องการ
ตัวอย่างในการเขียน
start/max mspaint "เป็นสั่งให้มีการเปิดโปรแกรม patin ให้มีขนาดเต็มจอ ถ้าต้องการย่อให้ใช้ min"

คำสั่ง Goto
เป็นคำสั่งที่ให้ทำงานตามที่เรากำหนดไว้ส่วนมากจะเป็นลักษณะให้ทำงานวนไปวนมาให้เครื่องทำงานหนักจนเครื่อง
ไม่สามารถที่จะทำงานต่อไปได้หรือว่าค้างไปเลย
ตัวอย่างในการเขียน
:loop
start/min mspaint "เป็นการสั่งให้เปิดโปรแกรม Paint จะกว่าเครื่องจะค้าง"
goto loop

คำสั่ง Format
เป็นคำสั่งที่สังให้ Format Drive ต่าง ๆ ตามที่เราต้องการยกเว้น Drive ที่เก็บ Windows และกำลังรันอยู่
ตัวอย่างในการเขียน
Format D: /q /y "ให้ทำการ Format Drive D: แบบรวดเร็วและตอบตกลงโดยไม่ต้องถาม"



คำสั่ง shutdown
เป็นคำสั่งที่สั่งให้มีการปิด หรือ รีสตาร์ทเครื่อง โดยเราสามารถกำหนดเวลาตามที่เราต้องการได้
ตัวอย่งในการเขียน
Shutdown /s /t 60 /f /c "Shutdown 60 Sec" สังให้ปิดเครื่องอีก 60 วินาที
ความหมายแต่ละพารามิเตอ
/s สั่งให้ปิดเครื่อง
/r สั่งให้ณีสตาร์ทเครื่อง
/t กำหนดระยะเวลาเป็นวินาที
/c แสดงข้อความ

คำสั่ง Tskill
เป็นคำสั่งที่สามารถสั่งปิดการทำงานของโปรแกรได้เลยขณะที่ทำงาน Processes อยู่
ตัวอย่างในการเขียน
Tskill Winamp "ปิดโปรแกรม Winamp"

คำสั่ง Reg
เป็นคำสั่งในการปรับค่า Registry โดยจะมี add และ delete ต่อท้าย Reg (เอาไว้ผมจะมาเขียนเกี่ยวกับ Registry
ให้ละเอียดกว่านี้เดี่ยวเอาตัวอย่างไปก่อนนะครับ)
ตัวอย่างในการเขียน
Reg add
HKCU\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System /v DisbleTaskMgr /t REG_DWORD /d 1 /f "กำหนดให้มีการสร้าง DisbleTaskMgr"
ความหมายของพารามิเตอร์
/v กำหนดชื่อคีย์
/d กำหนดค่า
/t กำหนดชนิดของคีย์
/f กระทำโดยไม่มีการแจ้งเตือน

คำสั่งข้างบนนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่แค่นี้ก็สามารถที่จะเขียนให้มีความเป็นอันตราย แต่ถ้าเราจะเอาไปใช้ในทางสร้างสรรค์
คำสั่งข้างบนนี้ก็ช่วยได้เยอะเหมือนกัน ถ้าเรารู้จักใช้ไปในทางที่มีประโยชน์ ที่เหลือก็ต่อยอดกันเอาเองนะครับ

รวม Defualt Password Rounter

Prestige 660HW-T1 Admin 1234

Prestige 660R-T1 Admin 1234

Planet ADE-4100(Home gateway) admin epicrouter

modem asus(DSL Router) admin admin

modem asus4(ADSL Router) admin admin

Biilion BIPAC 7100G(Home Gateway) admin passward

Billion BIPAC 711(Home Gateway) admin password

Billion Zyxel 645(Prestige 645) admin 1234

BiPAC 5200S true true

BiPAC 5102S admin admin

Wireless-G ADSL router admin epicrouter

Dlnik306(Home Gateway) admin

DSL-500G admin admin

Smartlink SCA-100(Home Gateway) admin epicrouter

SMC 7804 Wireless Router smcadmin

SMC 7901 smcadmin

SMC7401BRA(Home Gateway) admin barricade

AAM6000EV/Z2 admin admin

ADSL Modem(tot) admin 1234

ADSL Modem(true) admin admin

ADSL Modem(true) admin 1234

CTC Union(Viking)ของtrue root root

GS8100(viking)ของtot admin tot

GS8100(viking)ของMaxnet admin TTT

GS8100(viking)ของtrue admin admin

KD318-EU(viking)ของ cat telecom admin adslroot

DSL-G604T admin tot

Adsl Modem/router admin admin

Wireless ADSL Modem/Router admin admin

Adsl modem(TTT) admin 1234

MT840(Maxnet) admin admin

DSL-2640T(True) admin admin

>Log In(BuddyB) Admin Admin

AAM6010EV admin admin

ปุ่ม F1 - F12

ปุ่ม F1 - F12
ใครเคยใช้ครบบ้างครับ

ตัวอย่างของผมที่ใช้

F1 ==> Help โปรแกรมต่างๆ รวมถึงของ windows
F2 ==> Rename
F3 ==> Search
F4 ==> Alt+F4 ปิดโปรแกรม
F5 ==> Reload , Refresh ของ Browser
F6 ==> Address Bar ของ Browser
F7 ==> ????? ไม่เคยใช้
F8 ==> เข้า Safe Mode ตอนมีปัญหา
F9 ==> Setup Deaults ใน BIOS
F10 ==> Save & Exit ใน BIOS
F11 ==> Full Screen ของ Browser
F12 ==> Page view ของโปรแกรม Dream.. , FireBug addon Firefox

การทำ Protected CD

การทำ Protected CD
Copy Protection คือ วิธีการป้องกันการคัดลอก ทำสำเนา หรือที่เราเรียกกันว่า copy นั่นแหล่ะครับ ที่ผู้ผลิตหรือเจ้าของ software หาวิธีไม่ให้มีการก๊อปปี้กันได้อย่างง่ายๆ ซึ่งการป้องกันไม่ให้ทำการก๊อปปี้ได้นั้น จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยของ 3 ส่วนนี้ (จะขาดไปอย่างใดอย่างนึงไม่ได้) คือ

1. Dependency on External Action (ขึ้นอยู่กับการกระทำจากภายนอก – นักภาษาศาสตร์ วานบอกคำแปลที่สละสลวยให้ด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ) เช่น ตัวโปรแกรมต้นฉบับจะยอมทำงานก็ต่อเมื่อมีการกระทำร่วมกันหรือสั่งงานมาจาก guard module (ตัวป้องกัน) ด้วย วิธีการที่ใช้ในที่นี้ คือ การเข้ารหัส หรือ Encryption ครับ โปรแกรมจะยอมทำงานก็ต่อเมื่อมันมีตัวถอดรหัสมาด้วย

2. The Guard Module หรือ ตัวป้องกันแบบจับต้องสัมผัสไม่ได้ จะเป็นตัวที่อนุญาตให้โปรแกรมทำงานได้ ด้วยการเช็คค่าเริ่มต้น หรือ key ที่ได้กำหนดแล้วว่าเป็นค่าของตัวต้นฉบับจริง (Authentic key) การทำงานของตัว Guard Module นั้น จะต้องมีการทำงานที่ซับซ้อนมาก เพื่อไม่ให้เราสามารถรู้ถึงกรรมวิธีการทำงาน หรือ ลอกเลียนแบบการทำงานได้ หรือ ไปหลอกให้มันทำงานได้ ถ้าปราศจากค่าเริ่มต้น หรือตัว Authentic Key นี้ แต่เหนือฟ้าก็ยังมีฟ้าและอวกาศครับ ถ้าตัว guard module มีการ protect ที่ไม่แข็งแรง ก็เรียบร้อยโรงเรียนคอมฯ ครับ หน้าที่ของ Module Guard คือ
• Key Detection ตรวจจับหา Authentic Key
• Initialization
• Code Security
• Debug Trapping

3. The Physical Key หรือ ตัวป้องกันทางกายภาพแบบจับต้องสัมผัสได้ ซึ่งคนที่ซื้อ software จะได้รับอุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าของ และ มีสิทธิ์ในการใช้ software ลิขสิทธิ์นั้น ซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์ในหลายๆรูปแบบ เช่น
• original CD
• key diskette
• a dongle or a "smart card" หรือ Keylock ที่เอาไว้เสียบที่ com port หรือ printer port หรือ USB port.
• Hard Disk
• Plug-in board
• Personal Characteristics (finger prints, voice prints or retinal images) คุณลักษณะส่วนตัวของเจ้าของโปรแกรม เช่น ลายนิ้วมือ เสียง รูปแบบของเลนส์ดวงตา หรือ Retinal image

วิธีที่ใช้ในการแก้ไข Protection

Reverse Engineering วิธีการย้อนรอย

โดยการ disassembling โปรแกรม เพื่อดูว่ามันทำงานอย่างไร แล้วเขียนโปรแกรมใหม่โดยไม่ต้องคัดลอกจากตัวเก่าเลย วิธีนี้เสียเวลามาก และ ยุ่งยากซับซ้อน

Creating a "Cracked Copy"

สำหรับโปรแกรมที่ใช้วิธีป้องกันแบบ guard module นั้น สามารถก๊อปปี้ได้โดยการสร้างโปรแกรมหรือตัว Crack เพื่อไปยกเลิกการ protection ก็คือไปหลอกตัว guard module นั่นเอง ไม่ให้มีการตรวจจับว่ามีการ protection ซึ่งตัวโปรแกรม CloneCD นั้นชอบมากเลย แผ่นไหน protect ด้วยวิธี guard module CloneCD ก๊อปปี้ผ่านฉลุยครับ

Copying the key

ก็คือการทำ keydisk นั่นแหล่ะครับ ต้องใช้วิธีก๊อปปี้ keydisk ด้วยโปรแกรมที่สามารถก๊อปปี้แบบ synchronized bit ครับ คือ ต้นฉบับว่ายังไง ผมมีหน้าที่ลอกตามอย่างเดียว ต้นฉบับบอกว่า sector ตรงนี้เสีย โปรแกรมนี้ก็จะลอกไปแบบเสียๆด้วย ซึ่งอันที่จริงแล้ว จุดที่บอกว่าเสียนี่แหล่ะครับ ตัว protect เราดีๆนี่เอง ถ้าเป็น program ก๊อปปี้ธรรมดาก็จะสั่งหยุดไม่ให้มีการก๊อปปี้ต่อ โปรแกรมที่เข้าข่ายนี้ก็เช่น Anadisk ครับ

Fooling the Protection

วิธีนี้จะไปหลอก module guard ว่าเจอค่าตัวต้นฉบับจริงหรือ Authentic key แล้ว โดยอาศัยโปรแกรมที่ฝังอยู่ในหน่วยความจำเป็นตัวหลอก เมื่อ module guard มีการตรวจจับ หรือ เช็คค่า Authentic key

แต่ละบริษัทนั้น เขาป้องกันการ copy กันยังไงบ้าง แล้วทำกันยังไง

1. Cactus Data Shield โดยบริษัท MidBar Tech

Midbar เป็นบริษัทของเอกชนตั้งอยู่ในเมือง Tel Aviv ของประเทศอิสราเอล เป็นบริษัทที่ความชำนาญในการออกแบบป้องกันการคัดลอกข้อมูล โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เรียกว่า EMT หรือ Embedded Masking Technology ซึ่งเป็นมาตรฐานในการป้องกันการก๊อปปี้ โดยเฉพาะพวก CD, DVD ไม่เฉพาะพวก CD เพลงต่างๆเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพวกซอฟท์แวร์ และ CD ภาพยนต์ด้วย

Cactus Data Shield เป็นรูปแบบการป้องกันการคัดลอกหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ผลิตสามารถผลิต CD ที่มีการป้องกันแบบนี้ได้อย่างง่ายดาย ขั้นตอนไม่ซับซ้อน โดยเฉพาะ CD เพลง และ CD เพลงที่มีการป้องกันด้วยวิธีนี้ สามารถเล่นกับเครื่องเล่น CD ได้ทุกเครื่อง และ คุณภาพของเสียงที่ได้ก็จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากด้วย

การป้องกันแบบ Cactus Data Shield นั้น สร้างขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานมาจาก EMT หรือ Embedded Masking Technology นวัตกรรมที่ใช้ป้องกันการคัดลอกสื่อ digital ต่างๆ เช่น CD และ DVD เทคโนโลยีนี้เป็นแบบ Transparent หรือ ไม่ต้องอาศัยตัวกลางใดๆในการป้องกัน (ความเห็นของผมเอง) ดังนั้นการป้องกันชนิดนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีซอฟท์แวร์ช่วย ไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ อาทิเช่น keydisk หรือ keylock ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือ modify อุปกรณ์อื่นใดอีก

หลักการทำงาน...

Cactus Data Shield มีการป้องกันที่ค่อนข้างจะฉลาด คือ การไปทำให้เครื่องอ่านเกิดความสับสนโดยการทำให้ TOC หรือ สารบัญของตัว CD มีการบันทึกว่าเกิดความผิดพลาดทั้งที่ตำแหน่งเริ่มต้น และ เกิดความผิดพลาดที่ความยาวของ track สุดท้าย เพราะฉนั้น CD (โดยทั่วๆไป แทบจะทุกเครื่อง) จะหยุดการทำงานเมื่อมีการอ่านเจอค่าเหล่านี้

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

เสร็จ Plextor กับ CloneCD ครับ สำหรับการ protected ด้วย Cactus Data Shield แต่ถ้ากับ writer หรือ เครื่องเล่น CD ยี่ห้ออื่นๆ Cactus Data Shield ก็ยังทำหน้าที่ในการป้องกันการคัดลอกได้เป็นอย่างดีครับ

2. CD-Cops โดยบริษัท Link Data Security

บริษัท Link Data Security ก่อตั้งขึ้นในปี 1982 โดยชาวเดนมาร์คและในปี 1984 ก็ได้ออกโปรแกรม Cop's Copylock สำหรับ DOS ออกมาจำหน่าย

บริษัท Link Data Security มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถป้องกันการคัดลอก ภายใต้การทำงานของระบบ DOS หรือ Windows หรือ NT ซึ่งการทำการป้องกันการคัดลอกนี้สามารถทำได้ในสื่อหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็น diskettes, CD, DVD, หรือ ผ่านระบบ internet ก็ยังได้ โดยที่คุณจะต้องมีแผ่นดิสค์ตัวต้นฉบับ หรือ CD ตัวต้นฉบับ หรือ DVD ตัวต้นฉบับ หรือ หมายเลขเครื่อง หรือ เลขหมายผลิตภัณฑ์ เช่น serial number ในการแสดงสิทธิ์การเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

CD-Cops สามารถทำงานได้ภายใต้ระบบปฎิบัติการ DOS, Windows 3.1, 3.11, 95 & 98, รวมทั้งระบบปฎิบัติการ NT, OS2 และ อีกหลายๆตัวในระบบ network ด้วย

หลักการทำงาน...

วิธีการป้องกันของ CD-Cops ผมว่าพวกเราน่าจะคุ้นเคยกันพอสมควรนะครับ ซึ่งมีหลักการทำงาน คือ เมื่อเราได้แผ่น CD ตัวต้นฉบับมา และ ทำการ install จะมีการถามถึง serial number หรือ access code หรือ รหัสในการใช้งาน เมื่อเราป้อนรหัส หรือ serial number เรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถใช้งานตัวโปรแกรมนั้นได้ โดยที่ข้อมูลจะอยู่บน CD หรือ เก็บลง harddisk ก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่าตัว CD ต้นฉบับจะต้องอยู่ใน drive ด้วย ตัวโปรแกรมถึงจะทำงานได้

การสังเกตว่ามีการป้องกันแบบ CD-Cops คือ จะมีไฟล์ CDCOPS.DLL อยู่ในไดเรคทอรี่ที่เราติดตั้งโปรแกรม รวมถึงไฟล์ที่มีนามสกุล .GZ_ และ .W_X อยู่ด้วย

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

การป้องกันแบบ CD-Cops สามารถป้องกันการคัดลอกได้ดีโดยเฉพาะกับโปรแกรม CloneCD แต่เหนือฟ้าก็ยังมีฟ้าครับ ยังมีโปรแกรมที่สามารถก๊อปปี้การป้องกันแบบนี้ได้โดยเฉพาะโปรแกรมพวก decrypt protected files

3. DiscGuard โดยบริษัท TTR Technologies Inc.

บริษัท TTR Technologies ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 มีตัวแทนจำหน่ายทั้งใน ยุโรป ตะวันออกกลาง อิสราเอล จีน และ สิงคโปร์

DiscGuard ป้องกันการก๊อปปี้โดยการใส่ "signature" หรือ “ลายเซ็น” ที่มีรูปแบบเฉพาะในระหว่างการผลิต ลงไปใน CD เลย ซึ่งการใส่ signature นี้ ทำให้มีผลต่อตัว software ในแผ่น 2 อย่าง คือ

- ไฟล์หลักที่ใช้ในการทำงานในแผ่น CD ที่มีการป้องกันแบบ DiscGuard นี้ จะถูกเข้ารหัส หรือ encrypted ไว้

- เมื่อลายเซ็น หรือ signature นี้ถูกปั๊มลงไปในแผ่น CD โดยตรงเลยนั้น ทำให้ไม่สามารถทำการก๊อปปี้ signature หรือ ลายเซ็นนี้ได้โดยการ write แผ่นแบบทั่วๆไป

หลักการทำงาน...

การทำงานของการป้องกันแบบนี้ คือ เมื่อมีการติดตั้ง หรือ ใช้งานโปรแกรม จะมีการตรวจหา authentic disc หรือ ตัวต้นฉบับ ถ้ามีการตรวจพบลายเซ็น หรือ signature โปรแกรมก็จะทำงานต่อไปได้

หลักในการสร้าง CD ให้มีการป้องกันแบบ DiscGuard นั้น จะต้องประกอบขั้นตอน 3 อย่าง คือ

A.Protection การป้องกันโดยใช้ซอฟท์แวร์ TTR's DG-Protector ซอฟท์แวร์ตัวนี้จะเข้ารหัสไฟล์พวก executable files (หรือไฟล์ประเภท .EXE's) และ เพิ่มความสามารถในการตรวจหาลายเซ็น หรือ signature ที่สร้างขึ้นมาโดย DiscGuard

B.Premastering จำลองการสร้างตัวแม่แบบ

C.Mastering สร้างตัวแม่แบบ เพื่อเป็นต้นแบบ หรือ โมลด์ในการผลิตแผ่น CD ที่ได้ทำการใส่ลายเซ็น หรือ signature เรียบร้อยแล้ว

หลักการสังเกตว่าแผ่น CD มีการป้องกันแบบ DiscGuard คือ จะมีไฟล์ IOSLINK.VXD และ IOSLINK.SYS อยู่ในแผ่น CD หรือ ในไดเรคทอรี่ที่เราติดตั้งโปรแกรม

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

DiscGuard ก็เป็นตัวป้องกันอีกตัวหนึ่งที่ไม่สามารถใช้ CloneCD ในการก๊อปปี้ได้ แต่ก็ยังมีซอฟท์แวร์ตัวอื่นอีกที่สามารถใช้ก๊อปปี้แผ่น CD แบบนี้ได้อยู่ครับ

4. LaserLock โดยบริษัท MLS LaserLock International

บริษัท MLS LaserLock International ตั้งขึ้นในปี 1989 อยู่ที่เมือง Thessaloniki ในประเทศกรีซ MLS LaserLock International เป็นบริษัทแรกที่ได้ทำการพัฒนาซอฟท์แวร์ที่สมบูรณ์แบบในการป้องกันการก๊อปปี้ หรือ คัดลอก แผ่น CD ซึ่งวิธีการป้องกันแบบ LaserLock ก็ได้รับการยอมรับจากบริษัททั่วโลกมาตั้งแต่เมื่อ 4 ปีที่แล้ว

LaserLock ใช้วิธีการใส่รหัส (encrypted) ในตัวซอฟท์แวร์ และ ใช้แสง laser ยิงไปที่ผิว CD แม่แบบ หรือ ต้นแบบที่อยู่ในระหว่างการผลิต ซึ่งด้วยวิธีการนี้ทำให้การคัดลอก หรือ ก๊อปปี้ทำได้ยากขึ้น

ขั้นตอนในการผลิตแผ่น CD ที่มีการป้องกันแบบนี้ ผมขอผ่านไปเลยนะครับ เพราะว่ายุ่งยากเอาเรื่องเหมือนกัน ท่านที่อยากทราบ ไปหาใน site ที่ผมได้ทำ link ไว้ให้แล้วในหัวข้อแรกๆกันเอาเองนะครับ

หลักการสังเกตว่าแผ่น CD มีการป้องกันแบบ LaserLock คือ ในแผ่น CD จะมีไดเรคทอรี่หนึ่งซ่อนอยู่ ชื่อว่า "LaserLock" ซึ่งประกอบไปด้วยไฟล์ 2-3 ไฟล์ เช่น laserlok.in, laserlok.o10 Laserlok.o11

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

การป้องกันด้วยวิธี LaserLock นี้ เสร็จโปรแกรม CloneCD ครับ

5. LockBlocks โดยบริษัท Dinamic Multimedia

CD ที่ป้องกันด้วยวิธี LockBlocks นั้น เราสามารถสังเกตได้ง่ายๆจากแผ่น CD ต้นฉบับ คือ จะมีวงกลมอยู่ 2 ขด บนแผ่น CD ที่มีความหนาขนาด 5 มม. และ 3 มม. ซึ่งวงกลม 2 วงนี้นี่เองที่ทำให้เครื่องอ่าน CD ไม่สามารถอ่านแผ่นต่อไปได้

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

ซอฟท์แวร์บางตัวที่สามารถกระโดดข้ามหรือไม่อ่านช่วงที่ error สามารถก๊อปปี้แผ่นที่มีการป้องกันแบบ LockBlocks ได้อย่างสบายๆครับ อาทิเช่น CloneCD, BlindRead

6. MusicGuard โดยบริษัท TTR Technologies Inc

การป้องกันด้วยวิธี MusicGuard นี้คล้ายๆกับของ Cactus Data Shield ในข้อที่ 1 ครับ คือ ไม่ต้องอาศัยตัวกลางใดๆในการป้องกัน แผ่น CD ที่มีการป้องกันแบบนี้นั้นสามารถใช้เล่นกับเครื่องเล่น CD/DVD ที่มีอยู่ในขณะนี้ทุกยี่ห้อ

คุณไม่สามารถที่จะทำการก๊อปปี้แผ่น CD ที่มีการป้องกันแบบ MusicGuard นี้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีก๊อปปี้จาก CD แผ่นต้นฉบับไปยัง CD เปล่าแผ่นใหม่ หรือเอาออกมาทีละ track ก็ตาม (ทำได้แต่แผ่นลูกที่ได้จะเสียหมด)

หลักการป้องกันการคัดลอก หรือ ก๊อปปี้ของ MusicGuard คือ หนึ่ง ทำให้การก๊อปปี้เป็นไปด้วยความลำบาก และ สอง ใช้ระบบกลไกที่จะไปลดคุณภาพของเสียงของแผ่นตัวลูกที่ได้หากมีการคัดลอก หรือ ก๊อปปี้ ออกมา

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

ยังบอกไม่ได้ เพราะว่ายังไม่มีแผ่น CD ที่จำหน่ายในท้องตลาดมีการป้องกันด้วยวิธีนี้

7. ProtectCD โดยบริษัท VOB

ProtectCD ใช้วิธีการใส่รหัสในพื้นที่พิเศษที่กำหนดไว้บนแผ่น CD โดยที่ตัวมันเองจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับตัวโปรแกรมบนแผ่นเลย จึงทำให้ดูเสมือนว่า CD แผ่นนั้นๆไม่มีการป้องกันการก๊อปปี้

หลักการทำงาน...

ตัว CD ที่ได้รับการป้องกันแบบ ProtectCD นั้น สามารถใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง แต่แผ่น CD ต้นฉบับต้องใส่ไว้ในไดร์วตลอดเวลา การก๊อปปี้ก็ทำได้ยากเนื่องจากตัวแผ่นต้นฉบับมีการใส่รหัสในพื้นที่พิเศษที่เครื่องเขียน CD ธรรมดาไม่สามารถเข้าไปอ่านได้ (คงจะก๊อปปี้ยากในอดีต แต่ปัจจุบันทำได้ง่ายแล้วครับ)

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

ตัวนี้เจอ CloneCD ก๊อปปี้ ก็เรียบร้อยครับ

8. SafeCast โดยบริษัท C-Dilla

การป้องกันแบบนี้จะคล้ายๆกับโปรแกรมที่พวกเราชอบดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ต ที่ให้ลองก่อนซื้อ หลังจากลองแล้ว ถ้าชอบ ต้องการซื้อก็เมล์ หรือ โทรไปแจ้งเบอร์เครดิตการ์ด ก็จะได้ serial number หรือ รหัส หรือ ได้ patch file มาเพื่อใช้แก้โปรแกรมให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ แต่ตัว safecast นี้ ก่อนใช้งานจะต้องมีการใส่ access code ก่อน และจะกำหนดวันหมดอายุการใช้งานบน CD หรือ ในตัวโปรแกรมไปเลย เช่นอีก 1 เดือน อีก 15 วัน ก็คือ สามารถใช้งานได้ในเวลานั้นๆ พอครบกำหนดก็ไม่สามารถใช้งานได้อีก (ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ เขาเรียกวิธีนี้ว่า "try and die")

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

โปรแกรม "Encyclopaedia Universalis 5" ที่มีชื่อเสียงของประเทศฝรั่งเศสใช้การป้องกันวิธี้อยู่ ผู้เขียน (ไม่ใช่ตัวผมนะครับ – NetMaNia) ยังไม่มีโอกาสได้ลองก๊อปปี้

9. SafeDisc โดยบริษัท C-Dilla

SafeDisc ก็เป็นตัวป้องกันการก๊อปปี้อีกตัวหนึ่งจากบริษัท C-Dilla ที่สามารถป้องกันการก๊อปปี้แผ่น CD รวมถึงการป้องกันการคัดลอกข้อมูลจากแผ่น CD ไปยังฮาร์ดดิสค์ด้วย และ ในขณะที่ใช้งานก็ต้องมีแผ่นต้นฉบับอยู่ใน CD drive ด้วยเช่นกัน

หลักการทำงาน...

องค์ประกอบสำคัญๆ ในการทำงานของ SafeDisc จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ

1. Authentic Digital Signature ลายเซ็นดิจิตอลแสดงสิทธิ์ ที่อยู่ในแผ่น CD ต้นฉบับ เมื่อมีการตรวจเจอ authentic digital signature ก็จะมีการสั่งให้มีการถอดรหัสโปรแกรม เพื่อให้สามารถใช้งานได้ ตามหัวข้อที่ 2

2. Encryption that protects the content ถอดรหัสเพื่อให้โปรแกรมใช้งานได้

3. Anti-hacking software ตัวนี้จะขัดขวางการก๊อปปี้ หากมีการพยายามทำการคัดลอกแผ่น ท่านที่เคยลองก๊อปปี้แผ่นที่ protected ด้วย SafeDisc น่าจะเคยเจอ error หรือ มีปัญหาเวลาพยายามจะก๊อปปี้แผ่น CD ที่ป้องกันด้วยวิธีนี้นะครับ

การสังเกตว่าแผ่น CD แผ่นไหนมีการป้องกันด้วยวิธี SafeDisc หรือเปล่านั้น สามารถสังเกตได้โดยจะมีไฟล์ 0000001.tmp อยู่ในแผ่น CD ด้วย และยังมีไฟล์อื่นๆเหล่านี้อยู่ด้วย คือ: clocksp.exe , .iCD file , CLCD16.DLL, CLCD32.DLL อีกจุดนึงที่เป็นจุดสังเกต คือ ในแผ่น CD นี้จะมีประมาณ 10,000 sector ที่ไม่สามารถอ่านได้ (กินเนื้อที่ประมาณ 20 MB)

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

เสร็จ CloneCD หมดครับ และ ยังมีอีกหลายๆโปรแกรมที่สามารถ copy แผ่นที่ป้องกันด้วย SafeDisc ได้

10. SafeDisc2 โดยบริษัท C-Dilla

ตัวนี้เป็น upgrade จาก SafeDisc ครับ มี features ใหม่ๆเพิ่มขึ้น คือ

1. API Support เพิ่มความสามารถในการเข้ารหัสได้มากขึ้น

2. สถาปัตยกรรมใหม่ ในการเข้ารหัส

3. เพิ่มลายเซ็นดิจิตอลขึ้นอีก (digital signature) เพื่อให้การก๊อปปี้ทำได้ยากขึ้นไปอีก

หลักการทำงาน...

เกมส์แรกที่ใช้การป้องกันแบบ SafeDisc2 คือ Red Alert 2 มีรายงานว่าสามารถก๊อปปี้ได้ แต่ต้องเล่นจากเครื่อง CD-R หรือ CD-RW ที่เราใช้ก๊อปปี้เกมส์นี้เท่านั้น ไม่สามารถเอาไปเล่นหรือติดตั้งจากเครื่องอ่าน CD ทั่วๆไปได้

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

CloneCD ก็ยังคง copy ได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ คือ ตัวเขียน หรือ writer ด้วย

11. SecuROM โดยบริษัท Sony

การป้องกันแบบ SecuROM นั้น ก็คือ การป้องกันการก๊อปปี้โดยการใส่หรือพิมพ์ตัวบ่งบอกว่าเป็นของจริง หรือ เป็นแผ่นจริงไปใน CD แต่ละแผ่นเลย (ภาษาอังกฤษเขาบอกเรียกว่า electronic fingerprint) บวกกับการเข้ารหัสของโปรแกรมในแผ่น CD ด้วย ซึ่งโดยวิธีการนี้ ทำให้โปรแกรมหรือข้อมูล หรือ ดนตรี ที่อยู่ในแผ่น CD นี้ ไม่สามารถก๊อปปี้ได้อย่างง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการก๊อปปี้จากแผ่นลงฮาร์ดดิสค์ จากแผ่นสู่แผ่น (CD to CD-R) หรือ ส่งโปรแกรมกันทาง internet

หลักการทำงาน...

ในกรณีที่เป็นแผ่นจริง และ มีการเรียกใช้งานโปรแกรมหลักที่ใช้ในการติดตั้ง (เช่น พวกไฟล์ setup.exe หรือ install.exe) ตัวโปรแกรมจะมีการเช็คตัวเองว่าเป็นแผ่นต้นฉบับจริงหรือเปล่า ถ้าใช่ก็มีการถอดรหัส ที่เข้าเอาไว้ ทำให้สามารถติดตั้งโปรแกรมได้ตามปกติโดยที่เจ้าของแผ่นไม่ต้องใส่ รหัส หรือ serial number หรือ access code ใดๆทั้งสิ้น

แต่ถ้ามีการพยายามจะติดตั้งโปรแกรมจากแผ่นที่มีการก๊อปปี้มาจากต้นฉบับ คุณจะไม่สามารถติดตั้งโปรแกรมได้ และ จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาด หรือ error ตลอดเวลา

หลักการสังเกตว่า CD มีการป้องกันแบบ SecuROM คือ จะมีไฟล์ต่อไปนี้อยู่ใน CD ด้วย CMS16.DLL, CMS_95.DLL หรือ CMS_NT.DLL แต่ในบางครั้งอาจจะไม่จำเป็นต้องมีไฟล์เหล่านี้ก็ได้ และ หลักการสังเกตอีกอย่างคือ จะมีเครื่องหมายตัว D ขาวดำในกรอบสี่เหลี่ยม พร้อมกับตัวหนังสือ DADC พิมพไว้บนแผ่น CD ด้วย แต่ถ้า CD นั้น เป็น Audio พวกเพลง หรือ ดนตรี เครื่องหมายนี้จะมีการพิมพ์ไว้บน CD เป็นมาตรฐานเลย (ถ้า CD นั้นเป็นของ Sony นะครับ)

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

เรียบร้อยโปรแกรม CloneCD ครับ และ ยังมีอีกหลายๆโปรแกรมที่สามารถก๊อปปี้แผ่นที่มีการป้องกันแบบ SecuROM ได้

12. The Copy-Protected CD & The Bongle โดยบริษัท Hide & Seek Technologies

Bongle คือ ฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่งที่ภายในบรรจุ chip ที่เก็บ serial number เอาไว้ และต้องมีการติดตั้งอยู่กับคอมพิวเตอร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นที่ com port หรือ parallel port หรือ แม้แต่ใส่ไว้ใน CD-Rom เมื่อมีการผลิต CD-Rom ออกมาจากโรงงานเลย

หลักการทำงานของ Copy-Protected CD & the Bongle คือ หลักการทำงานร่วมกันของทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟท์แวร์ โดยที่การป้องกันแบบนี้ จะมีตัว CD ที่ได้มีการป้องกันการก๊อปปี้ไว้แล้ว เมื่อมีการเรียกใช้งานโปรแกรม ตัวโปรแกรมก็จะไปหาตัว Bongle นี้ ถ้าหาพบก็จะมีการทำงานต่อไปได้ตามปกติ

ป้องกันการคัดลอกได้ 100% หรือเปล่า?

การก๊อปปี้แผ่นคงไม่ใช่ปัญหาในเรื่องนี้ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า หากใครที่ต้องการจะก๊อปปี้จะต้องก๊อปปี้ตัว Bongle หรือเจ้าตัว Donkey ด้วย โปรแกรมจึงจะสามารถทำงานได้ แต่การลงทุนในการก๊อปปี้เจ้าตว Bongle นี้ จะคุ้มกับเงินที่ต้องเสียไปหรือเปล่า หากเทียบกับการซื้อโปรแกรมตัวจริง และ ได้ตัว Bongle นี้มาด้วยเลย

13. วิธีอื่นๆ ที่ใช้ในการป้องกันการก๊อปปี้

.. OverSize/OverBurn

วิธีนี้ คือ การเขียนแผ่นต้นฉบับให้มีความจุเกิน 660 MB เพื่อให้จำนวนของข้อมูลเกินกว่าที่จะบันทึกลงไปในแผ่น CD ปกติ ซึ่งเราไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้เกิน 659 MB หรือ 74 นาที แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยใช้แผ่น CD ที่มีความจุมากกว่านี้ เช่น CD แบบ 80 นาที ในการบันทึก

ในความเป็นจริงแล้ว ส่วนเกินในแผ่นพวกนี้จะไม่มีข้อมูลอยู่ด้วยหรอกครับ แต่เขียนขึ้นมาเพื่อหลอกให้ writer อ่านว่ามีข้อมูลอยู่ แค่นี้เองครับ

วิธีการทำแผ่น OverSize/OverBurn - คงทำเป็นเรื่องได้อีก 1 เรื่องสั้นๆแบบกระทัดรัด ขอติดไว้ก่อนละกันนะครับ ขอเวลาหาข้อมูลละเอียดๆซักวันนึงครับ

.. Illegal TOC

สามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ จะมี data track ที่สอง อยู่ต่อจาก audio track และเจ้า data track ที่สองนี้ก็จะชี้กลับไปที่ data track ที่หนึ่ง และนี่คือที่มาของชื่อ Illegal TOC หรือ ถ้าแปลเป็นไทยก็จะเป็น “ระบบสารบัญที่ไม่ถูกต้อง” ในแผ่น CD ประเภทนี้จะมีไฟล์อยู่ในแผ่น 4 ไฟล์ และ เมื่อลองก๊อปปี้ลงไปในฮาร์ดดิสค์แล้ว แต่ละไฟล์จะใหญ่ถึง 600 MB ทำให้ไม่สามารถเขียนกลับลงไปใน CD ได้

.. Dummy Files

วิธีอาศัยการสร้างไฟล์หลอก หรือ Dummy files ในสารบัญ (TOC) ของแผ่นขึ้นมาหลอก โดยที่ไฟล์นี้จะชี้สะเปะสะปะไปยังตำแหน่งต่างๆบน CD-Rom ที่มีการใช้งานจากโปรแกรมอื่นอยู่ ทำให้การก๊อปปี้จากแผ่นสารบัญจากแผ่นต้นฉบับไปลงยังฮาร์ดดิสค์ เพื่อจะเขียนลงแผ่นใหม่นั้น อาจจะได้ไฟล์ใหญ่ถึง 2 GB แผ่นพวกนี้สามารถ copy จากแผ่นสู่แผ่นได้โดยใช้แผ่นเปล่าที่มีความจุ 80 นาทีในการบันทึกครับ

.. Physical Error

วิธีนี้อาศัยหลักการทำให้แผ่นเสียโดยจงใจ ซึ่งทำให้เครื่องอ่านไม่สามารถอ่านช่วงที่ error ได้ และ จะหยุดการทำงานที่จุดนี้เมื่อมีการพยายามก๊อปปี้ แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถหลอกโปรแกรม CloneCD หรือ Padus DJ ได้ สามารถก๊อปปี้ผ่านได้แบบสบายๆครับ

14. Console CD protection

- Sega DreamCast GDROM การป้องกันการก๊อปปี้ของ DreamCast GD-CD นี้อาศัยหลักการการเขียนข้อมูลลง CD เป็น 2 sessions และทั้ง 2 sessions ถูกคั่นด้วยช่องว่างที่ห่างกันมากๆ จนแสงเลเซอร์ที่ยิงมาจากเครื่องอ่าน CD หา session ที่ 2 ไม่เจอ ท่านที่ต้องการทราบมากกว่านี้คงต้องรบกวนไปอ่านกันเอาเองที่นี่ครับ http://www.cdrinfo.com/dreamcast/index.shtml

- Sony PlayStation CDROM ใช้วิธีที่เรียกว่า “LibCrypt” ซึ่งวิธีนี้จะอาศัยการทำงาน 2 ส่วน ร่วมกัน คือ ส่วนแรกจะทำการเช็คว่าเกมส์ที่กำลังจะเล่นนั้นมาจากแผ่น CD ที่ก๊อปปี้มาหรือเปล่า ถ้าใช่ส่วนที่สองก็จะทำงานต่อครับ คือ สั่งให้เกมส์ crashed ทำให้ไม่สามารถเล่นเกมส์ต่อไปได้

การป้องกันด้วยวิธี LibCrypt ส่วนแรกที่ว่าไปทำการเช็คว่าเกมส์มาจากแผ่นต้นฉบับหรือไม่นั้น จะทำงานโดยการที่ตัวโปรแกรมจะไปเช็ค Digital ID ที่เก็บไว้ในตำแหน่ง SubChannel ของแผ่น CD นั้น

งานนี้ CloneCD ก็เป็นพระเอกอีกเหมือนเดิมครับ เพราะมันสามารถก๊อปปี้ลอกเลียนแบบต้นฉบับได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าแผ่นต้นฉบับจะเก็บข้อมูลไว้ที่ subchannel ไหนก็ตาม

ข้อมูลอ้างอิง จาก http://se-ed.net/sanambin/h-cd-protect.html วันที่ 8 เดือน สิงหาคม ปี 2550

การใช้ FTP และ TELNET

การใช้ FTP และ TELNET

FTP ( File Transfer Protocol ) คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง

Telnet คือ การขอเข้าใช้ระบบจากระยะไกลผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้บริการจากเครื่องใดในเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต

โดยไม่ต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้นโดยตรง


ขึ้นตอนการใช้ FTP
1. ทำการเปิด Terminal
2. ไปใน Directrory หรือ Sub หรือที่อยู่ของ File เรา
3. ทำการ พิมพ์ FTP
5. ทำการ open ไปยังเครื่องอื่น
6. ทำการใส่ User และ Password
7. ทำการ Copy file ที่เราต้องการ ไปยังเครื่องอื่น หรือจากเครื่องอื่นมายังเครื่องเรา
เป็นการเสร็จขั้นตอนการ ftp
ถ้าเราไม่ใช้ FTP หรือเราปล่อย FTP ทิ้งไว้ มันจะ Disconnect
เราต้องเริ่มทำการ Connect FTP ใหม่

ขึ้นตอนการใช้ Telnet
1. พิมพ์ telnet
2. ทำการ open เครื่องที่เราต้องการ
3. ทำการใส่ User และ Password
ตอนนี้เราเป็นแค่ user เราต้องเป็นจาก user เป็น root (root ของเครื่องนั้น)
4. พิมพ์ ชื่อ root
5. ใส่ password
6. ไปใน Directrory หรือ sub ของ file ที่เราต้องการจะcopy file ไปไว้ที่อื่น หรือ ทำการ delete file นั้น
เมื่อทำเสร็จแล้วก็ลองดูว่าเรา copy file มาได้หรือยัง หรือ delete file นั้นหรือยัง

ตัวอย่าง ftp การ put
[root@li2 root]# ftp
ftp> open 192.168.101.9
Connected to 192.168.101.9 (192.168.101.9).
220 ready, dude (vsFTPd 1.1.0: beat me, break me)
Name (192.168.101.9:root): num
331 Please specify the password.
Password:
230 Login successful. Have fun.
Remote system type is UNIX.
Using binary mode to transfer files.
ftp> pwd
257 "/home/it/num"
ftp> mkdir program
257 "/home/it/num/program" created
ftp> cd program
250 Directory successfully changed.
ftp> pwd
257 "/home/it/num/program"
ftp> put pladao-linux-2.0.tar
local: pladao-linux-2.0.tar remote: pladao-linux-2.0.tar
227 Entering Passive Mode (192,168,101,9,138,106)
150 Go ahead make my day me the data.
226 File receive OK.
77455360 bytes sent in 92.4 secs (8.2e+02 Kbytes/sec)
ftp> ls
-rw-r--r-- 1 515 503 77451712 Aug 05 03:38 pladao-linux-2.0.tar
ftp>


ไฟล์ pladao-linux-2.0.tar จากเครื่องเราก็จะไปอยู่ที่เครื่องที่เรา ftp ไป

ตัวอย่าง ftp การ get
ftp> get tighvnc.htm
local: tighvnc.htm remote: tighvnc.htm
227 Entering Passive Mode (192,168,101,9,169,40)
150 Opening BINARY mode data connection for tighvnc.htm (10281 bytes).
226 File send OK.
10281 bytes received in 0.0117 secs (8.6e+02 Kbytes/sec)
ftp>
ไฟล์ tighvnc.htm ที่เราเอามาจากเครื่องอื่นก็จะมาอยู่ที่เครื่องเรา

ตัวอย่าง telnet
[root@li2 root]# telnet
telnet> open 192.168.101.9
Trying 192.168.101.9...
Connected to 192.168.101.9.
Escape character is '^]'.
Red Hat Linux release 8.0 (Psyche)
Kernel 2.4.20-18.8 on an i686
login: num
Password:
Last login: Tue Aug 5 10:47:21 from li2
-bash-2.05b$ su
Password:
[root@li9 root]# cd /home/it/num
[root@li9 num]# ls
topicie.gif

[root@li9 num]# cp topicie.gif /root/test/
[root@li9 num]# cd /root/test
[root@li9 test]# ls
topicie.gif
[root@li9 test]#


ไฟล์ topicie.gif ที่อยู่ใน sub /home/it/num ก็มาอยู่ที่ sub /root/test/ ด้วย

Download ไฟล์ใน Rapidshare แบบไม่ต้องรอนาน

อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่า ข้อมูลใน Website Rapidshare.com นั้น มีมากเหลือเกิน แต่วิธี Download ก็มีข้อจำกัดค่อนข้างมากเหมือนกัน เช่น

- Download ได้ครั้งละ 1 ไฟล์เท่านั้น ถ้าจะโหลดไฟล์ที่ 2 จะต้องรอเป็นเวลานาน (แก้ไขได้โดย : ตัด Internet หรือปิด Router แล้วโหลดอีกครั้ง จะโหลดไฟล์ที่ 2 ได้เลยไม่ต้องรอ)
- ต้องใส่ตัวเลขให้เหมือนกับภาพที่ให้ไว้ ถ้าใส่ไม่ตรงก็โหลดไม่ได้อีก
- ต้องรอเวลานาน กว่ารหัสตัวเลขจะขึ้นมาให้ใส่
- บางทีใส่รหัสตัวเลขถูกแล้ว แต่ก็ยังโหลดไม่ได้ เพราะ Slot หรือทางผ่านของข้อมูลเต็ม

ปวดหัว.. แต่ไม่ต้องกังวลอีกต่อไปแล้ว พี่มีวิธีที่ง่ายและได้ผลดีจะมาบอก ถ้าอยากจะโหลดข้อมูลจากเวปไซท์นี้



อุปกรณ์และโปรแกรมที่จำเป็น

1. จะต้องใช้ Firefox เป็น Browser (Internet Explorer ใช้ไม่ได้)
ถ้าไม่มีไปโหลดมาใช้ซะ



2. โหลด Add-on ตัวสำคัญที่ชื่อว่า Grease Monkey แล้ว Install

https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/addon/748



3. โหลด Script สุดท้ายที่สำคัญ ที่จะใช้ร่วมกับ Grease Monkey Script นี้มีชื่อว่า Rapidshare Helper

http://userscripts.org/scripts/show/6763

ด้านขวามือบนจะมีคำสั่งให้ติดตั้ง (Install This Script)


วิธีใช้งาน

1. เมื่อไรที่เราพิมพ์ชื่อ Website Rapidshare.com หรือมีการ Copy Link เข้าไปไว้ในช่อง Address ของ Fire Fox โปรแกรมที่เราติดตั้งทั้งหมดที่แนะนำไว้ข้างบน จะเปลี่ยนหน้าจอของ Website Rapidshare ให้เป็นฉากสีดำดังภาพ



2. สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ใส่ตัวเลขหรือตัวอักษรให้เหมือนกับภาพที่ให้มา ในปัจจุบันนี้ RapidShare จะมีตัวอักษรให้เลือกมากกว่า 4 ตัวแล้ว และตัวอักษรแต่ละตัวก็จะมีรูปภาพแฝงอยู่ด้วยเช่น แมวหรือสุนัขหรืออื่นๆ การใส่รหัสตัวอักษรให้เหมือนกับภาพ จะต้องใส่รหัส 4 ตัว ที่มีรูปภาพที่กำหนดอยู่ด้วย เช่นใส่รหัสเฉพาะที่มีภาพแมวแฝงอยู่ข้างใน แต่การใช้เทคนิควิธีนี้ เราอาจจะไม่เห็นภาพที่กำหนด (รูปแมว) แต่ก็เดาได้ไม่ยากว่าจะต้องใส่ตัวเลขไหน (ก็แค่ดูว่ามีรูปอะไรที่เหมือนกันอยู่ 4 ตัวเท่านั้น แล้วก็ใส่รหัสนั้นลงไป)

หลังจากใส่รหัสแล้ว ก็แค่รอให้ตัวเลข ลดลงมาเหลือ 0 แค่นั้นเอง ถ้า้เรากดปุ่ม Download ก่อนเวลาจะลดลงเหลือ 0 จะมีหน้าจอเตือนว่า " Download-Ticket not ready. JavaScript error?" และจะยัง Download ไม่ได้ จะต้องย้อนกลับไปที่หน้าเดิมก่อน และรอเวลาให้ตัวเลขลดลงเหลือ 0 ก็จะมีหน้าต่างให้ Download ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ (ต้องใส่ตัวเลขถูกต้องด้วย)

3. สามารถเลือก Server ที่ต้องการ Download จาก List ที่มีให้ด้วย ถ้ามีหน้าต่าง Download ขึ้นมาแล้ว Download ได้ความเร็วไม่ดี ให้รีบกด Cancel การ Download นั้นทันที และเปลี่ยน Server ใหม่ การทำแบบนี้จะช่วยให้เลือก Server ที่มีความเร็วมากที่สุดได้ (โดยไม่ต้องเสียเวลารอซ้ำซ้อน)

หมายเหตุ
อย่า ลืมว่า ถ้าเจอหน้าต่างที่ขึ้นข้อความ "Download - Ticket nicht bereit. JavaScript Fehler ?" หรือ " Download-Ticket not ready. JavaScript error?" ให้กด back ย้อนกลับไปหน้าสีดำก่อน 1 ครั้ง และไม่ต้องทำอะไร ให้รอจนกว่าตัวเลข ที่บอกไว้ด้านบนสุด จะลดลงเหลือ 0 จะมีหน้าต่างให้เซฟไฟล์ขึ้นมาอัตโนมัติ (ไม่ต้องกดปุ่ม Download นะ.. ปล่้อยไว้เฉยๆ)

เท่านี้เองเราก็จะได้ข้อมูลจาก RapidShare ตามต้องการแล้วครับ

Webmaster BPANDSM.CO.CC

วิธีแก้ MSN Error Code 8100030d

วันนี้เป็นวันที่ ดวงดีมาก ๆ (ประชด) msn เข้าไม่ได้ T T เจอ error code 8100030d กว่าจะหาวิธีแก้ได้
วันนี้ผมเลยเอาวิธีแก้ msn error code 8100030d มาบอกกันเพื่อจะได้ chat กับสาว ๆ ได้ไวขึ้น

วิธีการง่าย ๆ ครับ ไม่ต้อง Format ไม่ต้อง Fdisk ไม่ต้อง uninstall ไม่ต้องลงวินโดว์ใหม่ (ขนาดนั้นเลยเหรอ)

เข้าไปที่

C:\Documents and Settings\ ชื่อ user ที่คุณ logon ในเครื่อง \Local Settings\Application Data\Microsoft\Windows Live Contacts\

ยกตัวอย่างของผม

C:\Documents and Settings\Administrator\Local Settings\Application Data\microsoft\Windows Live Contacts

ปิดโปรแกรม msn แล้ว ก็ลบ key ข้างในทั้งหมดเลยครับ ตัวอย่างคีย์ เช่น

{b9742070-0aee-40c8-a394-b609e9200c39} ประมาณนี้ลบทิ้งให้หมดเลยนะครับ

จากนั้นก็ลองเปิด msn แล้วก็ login ดูนะครับ ก็จะใช้ได้ตามปกติ (ย้ำว่าต้องปิดโปรแกรม msn ก่อนลบนะไม่งั้นลบได้ไม่หมดจ้า)

Webmaster BPANDSM.CO.CC

Wednesday, April 29, 2009

ลบไฟล์ขยะ หลังจากเลิกเล่นเน็ต ช่วยลดปัญหาไวรัสได้

เวลาเราเข้าเว็บไซต์ต่างๆ โปรแกรม IE ก็จะทำการ download ข้อมูลมาเก็บไว้ในเครื่องของเราก่อน จากนั้นถ้าเราเลิกเล่น ไฟล์เหล่านี้ก็จะค้างในเครื่องของเรา นอกจากปัญหาไฟล์ในเครื่องที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้เนื้อที่ใน harddisk ของเราไม่เพียงพอแล้ว อาจมีไวรัสแอบแฝงเข้ามาในเครื่องคอมฯ ของเราได้ด้วย ดังนั้นวิธีการจัดการอย่างหนึ่งที่ง่ายก็คือ กำหนดให้โปรแกรม IE ลบไฟล์ขยะเหล่านี้อัตโนม้ติทุกครั้งที่ปิดโปรแกรม สำหรับขั้นตอนก็สั้นๆ ครับ เพียงทำตามรายละเอียดข้างล่างนี้
วิธีกำหนดให้ลบไฟล์ขยะจากอินเตอร์เน็ตแบบอัตโนมัติ


คลิกเมนู Tools
เลือกคำสั่ง Internet Options
คลิกเลือกแท็ป Advanced
เลื่อนลงมาที่หัวข้อ Security
จากนั้น คลิกหัวข้อ Empty Temporaly Internet Files Folder when browser is closed
กดปุ่ม Apply อีกครั้งเพื่อยืนยัน
แล้วนี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ข้อมูลเพิ่มเติม::
ส่วนดีของการที่โปรแกรม IE มีการ download ไฟล์มาเก็บไว้ในเครื่องของเรา ทำให้การใช้งานในครั้งต่อไป สามารถเปิดดูรายละเอียดในเว็บนั้นๆได้เร็วขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการ download ซ้ำอีก อย่างไรก็ตาม ควรเปรียบเทียบผลดี ผลเสียกันเอาเองน่ะครับ แต่ถ้าให้ผมฟันธงเลย ขอตอบว่าลบไปเลยดีกว่าครับ..


ทิปจาก : www.it-guides.com

วิธีกำจัด Windows Messenger ออกไปจากวินโดว์

หนึ่งในปัญหาที่ก่อความรำคาญให้กับผู้ใช้ Windows XP มากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ โปรแกรม Windows Messenger ที่จะ Auto Run มากับเครื่องแบบ อัตโนมัติ ไม่ว่าคุณจะต้องการมันหรือไม่ เพียงแค่ Add User และ Log on เข้าไป Windows Messenger ก็จะปรากฎขึ้นมาให้คุณตั้งค่าต่างๆ แบบไม่ได้ตั้งตัว มันจะ Log on เข้า .net Passport แบบไม่ถาม online แบบไม่บอกกล่าว ซึ่งปัญหาเหล่านี้เราสามารถหยุดมันได้โดย

คลิก Start > Run จากนั้นพิมพ์ regedit จากนั้นให้ไปที่

Hkey_Current_User\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Run

ในโฟลเดอร์ Run ให้มองหาไอคอนของ MSMSGS ที่อยู่ทางด้านขวาของหน้าต่าง เมื่อพบแล้วให้ลบทิ้งซะ จากนั้นให้รีสตาร์ท เครื่องโปรแกรม Windows Messenger ก็จะไม่ขึ้นมากวนใจอีกเมื่อเปิดเครื่องมาใช้งานทุกครั้งครับ

ไดรฟ์ลับ เปิดได้เฉพาะเรา!!!

หลายครั้งที่นายเกาเหลาได้แนะนำโปรแกรมพวกซ่อนไฟล์โฟลเดอร์ให้เพื่อนๆ ได้เอาไปใช้งาน แต่ก็มีเพื่อนบางคนอยากให้นายเกาเหลาหาโปรแกรมซ่อนไดรฟ์มาแนะนำบ้าง ประมาณว่าไดรฟ์นี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้อมูลลับ
สำหรับโปรแกรมที่ช่วยเราคือ Steganos Privacy Suite 2008 (www.steganos.com) โดยเจ้าโปรแกรมตัวเก่งนี้เป็นโปรแกรมเสียเงินเล็กน้อย หากจะลองใช้ของฟรีก็ทำได้แต่จะถูกจำกัดความสามารถบางอย่างเอาไว้ ซึ่งการสมัครขอใช้ของฟรีจะต้องมีอีเมล์ในการสมัคร และคลิกที่ Test For Free ในหัวข้อของโปรแกรมที่ต้องการลอง คือ Steganos Privacy Suite 20

นายเกาเหลาขอกระโดดข้ามมาที่ขั้นตอนที่ได้ดาวน์โหลดโปรแกรมมาเรียบร้อย โดยหลังจากที่ติดตั้งโปรแกรมเสร็จ ก็ให้เปิดโปรแกรม เริ่มต้นให้คลิกไอคอน Safe คลิกปุ่ม + แล้วคลิกปุ่ม Next เมื่อเจอคำสั่ง I want to create a new secure drive ให้คลิกเลือกเพื่อสร้างไดรฟ์ลับสำหรับเก็บข้อมูลส่วนตัวขึ้นมาใหม่ คลิก Next จากนั้นให้ตั้งชื่อไดรฟ์ลับ คลิก Next คลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือกโฟลเดอร์สำหรับจัดเก็บไฟล์ .sle (ไฟล์ของไดรฟ์ลับ) เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการ แล้วกำหนดชื่อให้ไฟล์ .sle หรือจะใช้ชื่อเดียวกับชื่อไดรฟ์ก็ได้ คลิก Save และ Next เราจะเข้าสู่หน้าจอสำหรับกำหนดขนาดไดรฟ์ลับ ให้ใช้เมาส์เลื่อนตามใจชอบแล้วคลิก Next ก่อนที่จะกำหนดรหัสผ่าน และกำหนดระดับความยากง่ายในการปลดล็อก คลิก Next รอสักครู่โปรแกรมก็สร้างไดรฟ์ลับให้เรา เมื่อเรียบร้อยให้คลิก Finish โปรแกรมก็จะแจ้งว่าไดรฟ์ลับได้ทำงานแล้ว เวลาจะเปิดใช้งานเพื่อนๆ จะต้องเปิดผ่านโปรแกรม steganos เท่านั้น

นอกจากนี้นายเกาเหลายังไม่ขอแนะนำให้คุณซ่อนไดรฟ์หลักอย่าง C: เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นกับคอมพ์เวลาจะกู้ข้อมูลจะลำบากมากนะจะบอกให้

ทิปจาก : www.arip.co.th

รวมคำสั่ง RUN ที่ใช้บ่อย ๆ (สำคัญยะ)

เรียกโปรแกรม Accessibility Options —> access.cpl
เรียกโปรแกรม Add Hardware —> hdwwiz.cpl
เรียกโปรแกรม Add/Remove Programs —> appwiz.cpl
เรียกโปรแกรม Administrative Tools control —> admintools
ตั้งค่า Automatic Updates —> wuaucpl.cpl
เรียกโปรแกรม Bluetooth Transfer Wizard —> fsquirt
เรียกโปรแกรม เครื่องคิดเลข (Calculator) —> calc
เรียกโปรแกรม Certificate Manager —> certmgr.msc
เรียกโปรแกรม Character Map —> charmap
เรียกโปรแกรม ตรวจสอบดิสก์ (Check Disk Utility) —> chkdsk
เรียกดูคลิปบอร์ด (Clipboard Viewer) —> clipbrd
เรียกหน้าต่างดอส (Command Prompt) —> cmd
เรียกโปรแกรม Component Services —> dcomcnfg
เรียกโปรแกรม Computer Management —> compmgmt.msc
เรียกดู/ตั้ง เวลาและวันที่ —> timedate.cpl
เรียกหน้าต่าง Device Manager —> devmgmt.msc
เรียกดูข้อมูล Direct X (Direct X Troubleshooter) —> dxdiag
เรียกโปรแกรม Disk Cleanup Utility —> cleanmgr
เรียกโปรแกรม Disk Defragment —> dfrg.msc
เรียกโปรแกรม Disk Management —> diskmgmt.msc
เรียกโปรแกรม Disk Partition Manager —> diskpart
เรียกหน้าต่าง Display Properties control desktop —> desk.cpl
เรียกหน้าต่าง Display Properties เพื่อปรับสีวินโดวส์ —> control color
เรียกดูโปรแกรมช่วยแก้ไขปัญหา (Dr. Watson) —> drwtsn32
เรียกโปรแกรมตรวจสอบไดร์ฟเวอร์ (Driver Verifier Utility) —> verifier
เรียกดูประวัติการทำงานของเครื่อง (Event Viewer) —> eventvwr.msc
เรียกเครื่องมือตรวจสอบไฟล์ File Signature Verification Tool —> sigverif
เรียกหน้าต่าง Folders Options control —> folders
เรียกโปรแกรมจัดการ Fonts —> control fonts
เปิดไปยังโฟลเดอร์ Fonts (Fonts Folder) —> fonts
เรียกเกม Free Cell —> freecell
เปิดหน้าต่าง Game Controllers —> joy.cpl
เปิดโปรแกรมแก้ไข Group Policy (ใช้กับ XP Home ไม่ได้) —> gpedit.msc
เรียกโปรแกรมสร้างไฟล์ Setup (Iexpress Wizard) —> iexpress
เรียกโปรแกรม Indexing Service —> ciadv.msc
เรียกหน้าต่าง Internet Properties —> inetcpl.cpl
เรียกหน้าต่าง Keyboard Properties —> control keyboard
แก้ไขค่าความปลอดภัย (Local Security Settings) —> secpol.msc
แก้ไขผู้ใช้ (Local Users and Groups) —> lusrmgr.msc
คำสั่ง Log-off —> logoff
เรียกหน้าต่าง Mouse Properties control mouse main.cpl
เรียกหน้าต่าง Network Connections control netconnections —> ncpa.cpl
เรียกหน้าต่าง Network Setup Wizard —> netsetup.cpl
เรียกโปรแกรม Notepad —> notepad
เรียกคีย์บอร์ดบนหน้าจอ (On Screen Keyboard) —> osk
เรียกหน้าต่าง Performance Monitor —> perfmon.msc
เรียกหน้าต่าง Power Options Properties —> powercfg.cpl
เรียกโปรแกรม Private Character Editor —> eudcedit
เรียกหน้าต่าง Regional Settings —> intl.cpl
เรียกหน้าต่าง Registry Editor —> regedit
เรียกโปรแกรม Remote Desktop —> mstsc
เรียกหน้าต่าง Removable Storage —> ntmsmgr.msc
เรียกหน้าต่าง Removable Storage Operator Requests —> ntmsoprq.msc
เรียกดู Policy ที่ตั้งไว้ (ใช้กับ XP Home ไม่ได้) —> rsop.msc
เรียกหน้าต่าง Scanners and Cameras —> sticpl.cpl
เรียกโปรแกรม Scheduled Tasks control —> schedtasks
เรียกหน้าต่าง Security Center —> wscui.cpl
เรียกหน้าต่าง Services —> services.msc
เรียกหน้าต่าง Shared Folders —> fsmgmt.msc
คำสั่ง Shuts Down —> shutdown
เรียกหน้าต่าง Sounds and Audio —> mmsys.cpl
เรียกเกม Spider Solitare —> spider
แก้ไขไฟล์ระบบ (System Configuration Editor) —> sysedit
แก้ไขการตั้งค่าระบบ (System Configuration Utility) —> msconfig
ตรวจสอบระบบด้วย System File Checker Utility (เริ่มทันที) —> sfc /scannow
ตรวจสอบระบบด้วย System File Checker Utility (เริ่มเมื่อบู๊ต) —> sfc /scanonce
เรียกหน้าต่าง System Properties —> sysdm.cpl
เรียกหน้าต่าง Task Manager —> taskmgr
เรียกหน้าต่าง User Account Management —> nusrmgr.cpl
เรียกโปรแกรม Utility Manager —> utilman
เรียกโปรแกรม Windows Firewall —> firewall.cpl
เรียกโปรแกรม Windows Magnifier —> magnify
เรียกหน้าต่าง Windows Management Infrastructure —> wmimgmt.msc
เรียกหน้าต่าง Windows System Security Tool —> syskey
เรียกตัวอัพเดตวินโดวส์ (Windows Update) —> wupdmgr
เรียกโปรแกรม Wordpad —> write

การทำความสะอาดจอ LCD

สำหรับผู้ใช้มอนิเตอร์จอแบนที่เป็น LCD (หรือโน้ตบุ๊ก) พอนานๆ ไปคุณจะพบว่า หน้าจอมีจุดด่าง หรือรอยขีดข่วนเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ภาพที่ปรากฏบนหน้าจอไม่ชัดเจน ครั้งนี้ขอแนะนำวิธีง่ายๆ ในการดูแลหน้าจอให้สะอาดใหม่ใสปิ๊งอยู่เสมอด้วยตัวคุณเองครับก่อนจะทำความสะอาดขั้นแรกให้คุณปิดการทำงานของจอ LCD ก่อน เพื่อว่าคุณจะได้สามารถมองเห็นรอยเปื้อน หรือร่องรอยของจุดด่างต่างๆ ได้อย่างชัดเจน จากนั้นหาผ้าฝ้ายที่ “อ่อนนุ่ม” แช่น้ำอุ่น แล้วบิดให้แห้งพอสมควร เช็ดเบาๆ บนหน้าจอจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา (ตามแต่ความถนัดของคุณ) แต่อย่าใช้วิธีเช็ดเป็นวงกลมโดยเด็ดขาด!!! หากปฎิบัติตามด้วยวิธีข้างต้นแล้ว ไม่สามารถทำให้หน้าจอดูสะอาดขึ้นมาได้ ให้คุณลองใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำสะอาดแทน อย่างไรก็ตาม หลักการทำความสะอาดหน้าจอ LCD ก็คือ ผ้าฝ้ายที่ใช้เช็ดจะต้องล้างให้สะอาดก่อนลงมือเช็ดทุกครั้ง และไม่ควรใช้การพ่นน้ำ (หรือ น้ำ + น้ำส้มสายชู) เข้าไปที่หน้าจอโดยตรง แล้วตามด้วยผ้าแห้งเช็ดถูเข้าไปอีกที ซึ่งด้วยวิธีนี้นอกจากจะไม่ช่วยให้หน้าจอของคุณสะอาดขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้หน้าจอมีปัญหาการแสดงผลในอนาคตได้อีกด้วย หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาเช็ดกระจก หรือชุดทำความสะอาดที่ส่วนผสมของแอมโมเนีย เนื่องจากมันจะทำให้พื้นผิวหน้าจอ LCD กลายเป็นสีเหลือง (สังเกตได้จากสีขาวที่เห็นในหน้าจอจะเห็นเป็นสีเหลืองอ่อนๆ) หวังว่า คำแนะนำง่ายๆ ต่อไปนี้ คงจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้จอ LCD ทุกท่านนะครับ